วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
         2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
            - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
            - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
            - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
            - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
         2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
            - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
            - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
            - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
      3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
        3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
        3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
        3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง
4. ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
     1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
     2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
     3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียน รู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
     4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้ เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
     5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
     6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน
คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ (Blended  Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน
 3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย
ประโยชน์ ข้อดี
     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้
ข้อเสีย
   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
  11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to face (เรียลไทม์)
5. ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
   1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้
   2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning
   3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน


   4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน